@tint_nuclear
ID: 929984968574484480
calendar_today13-11-2017 08:11:09
102 Tweet
36 Followers
81 Following
5 hours ago
🔥The 9th Round of Easy Loan, Earn $40 Reward is in progress❗️ ⏰ Promotion Period: January 15th - Feburary 15th, 2025 👉 Register now and check more details at gate.io/campaigns/358
6 years ago
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ที่จริงทุกอย่างที่เราพบในชีวิตประจำวันล้วนประกอบด้วยสารกัมมันตรังสีปะปนอยู่ การวิเคราะห์อย่างละเอียด สามารถหาชนิดและปริมาณของสารกัมมันตรังสีในวัตถุชนิดต่างๆ ได้ รวมถึงสินค้าและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่เราใช้กันตามปกติ
อิสิดอร์ อิซาค ราบี เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอะไรๆ หลายอย่างคล้ายกับ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เช่น เป็นนักฟิสิกส์ที่ได้รับรางวัลโนเบลเหมือนกัน นอกจากนี้ทั้งสองคนยังทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนิสิตมากมาย อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลและองค์กรหลายแห่ง
การลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นผลจากการเจรจามานานกว่า 8 ปี ในการที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องของความปลอดภัยและการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนที่สัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 10 ตุลาคม 1963 มีประเทศเข้าร่วมลงนามทั้งหมด 108 ประเทศ
ในสภาวะไร้น้ำหนัก นักบินอวกาศต้องใช้แรงในการทำภารกิจมากกว่าปกติ ทำให้อาหารที่นำขึ้นยานไปด้วยต้องเป็นอาหารให้พลังงานสูงและต้องมั่นใจว่าปราศจากเชื้อโรคจริงๆ อาหารฉายรังสีสำหรับนักบินอวกาศจึงตอบโจทย์ความปลอดภัยนี้มากๆ
สิทธิบัตรและผลงานเชิงทฤษฎีของนิโคลา เทสลา กลายเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ใช้งานในปัจจุบันหลายอย่าง อาทิ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ขดลวดเทสลา เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์ เครื่องกระจายเสียงผ่านวิทยุ ฯลฯ
รู้ไหมว่ากว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะรู้จักและนำรังสีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างทุกวันนี้ ต้องมีการทำการศึกษาค้นพบต่อยอดและพัฒนาสืบต่อกันมา เราลองมาดูวิวัฒนาการประวัติย่อของรังสีที่สำคัญ ว่ามีการค้นพบอะไร และมีนักวิทยาศาสตร์คนไหนที่เกี่ยวข้องกันบ้างดีกว่า
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเชิงพาณิชย์เครื่องแรก และเป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา ได้เดินเครื่องจนปฏิกิริยานิวเคลียร์ถึงระดับคงที่ในวันที่ 19 สิงหาคม1960 และเริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1960
สีไข่มุกที่พบส่วนใหญ่มักเป็นสีขาว ทำให้สีอื่นๆ เช่น สีเหลือง สีชมพู หรือสีเทาดำ เป็นสีหายากและมีมูลค่าสูงดังนั้น จึงมีการเพิ่มมูลค่าให้อัญมณีชนิดนี้ด้วยการ ฉายรังสีแกมมาเพื่อเปลี่ยนสีไข่มุกเป็นสีหายาก สีที่ได้จากการฉายรังสีคือ สีเทาดำ และนิยมทำในไข่มุกน้ำจืด
มิชิโอะ คะกุ เป็นนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีลูกครึ่งญี่ปุ่น-อเมริกัน เขาเป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่ City College of New York มีผลงานที่เป็นหนังสือทางฟิสิกส์หลายเล่ม คือ Hyperspace , Physics of the Impossible , Physics of the Future และ The Future of the Mind
ยูเรเนียม (Uranium) เป็นธาตุโลหะที่หนักที่สุดในธรรมชาติ มีลักษณะสีเงินวาว สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์แทนการใช้ถ่านหินหรือแก๊สได้ เพราะเป็นพลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษ หลายประเทศจึงใช้ยูเรเนียมเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ผลงานเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับปฏิอนุภาคของ พอล ดิแรก กลายเป็นรากฐานที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนนำไปใช้ต่อยอด และสร้างเป็นผลงานระดับรางวัลโนเบลมากมาย ดิแรกจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบิดาแห่งฟิสิกส์ควอนตัม และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1933 จากผลงานทฤษฎีเกี่ยวกับปฏิอนุภาค
การค้นพบตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ เป็นการจัดระบบครั้งใหญ่ให้วงการเคมี ทั้งเป็นการสร้างรากฐานที่ทำให้นักเคมีรุ่นต่อๆ มาได้เข้าใจแบบแผนของธาตุมากขึ้น สามารถนำไปพัฒนา ค้นหา และค้นพบธาตุใหม่ๆ ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนธาตุทั้งสิ้น 118 ตัว รู้ไหมว่ามีธาตุกัมมันตรังสีอยู่ถึง 36 ตัวเชียวนะ
ทอเรียม เป็นธาตุโลหะสีขาวเงินมันเงา จะเปลี่ยนเป็นสีเทาดำเมื่อสัมผัสอากาศ มีกัมมันตภาพรังสีเล็กน้อย สามารถใช้ผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ได้เช่นเดียวกับธาตุยูเรเนียม นอกจากนั้นยังใช้เพื่อหาอายุฟอสซิลมนุษย์โบราณ และใช้เคลือบลวดทังสเตนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เรเดียม ค้นพบโดย ‘มารี กูรี’ ขณะสกัดแยกยูเรเนียม และพบว่าในกากแร่ยังมีกัมมันตภาพรังสีอยู่ ซึ่งก็คือเรเดียมนั่นเอง ขณะเรเดียมยังบริสุทธิ์จะมีสีขาว และจะดำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศในธรรมชาติ รังสีที่ได้จากเรเดียมคือ รังสีแกมมา ซึ่งสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
ยูเรเนียม นิยมใช้ประโยชน์ด้านแหล่งกำเนิดพลังงาน เป็นโลหะหนักที่ให้พลังงานได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะยูเรเนียม 235 ที่เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ดีที่สุด หากเทียบกับ ยูเรเนียม-238 หรือ ยูเรเนียม-234
พลูโตเนียม เป็นโลหะสีขาวเงิน จะเปลี่ยนเป็นสีเป็นเทาเข้มเมื่ออยู่ในอากาศ รังสีที่แผ่คือรังสีอัลฟา พลูโตเนียม 238 มีประโยชน์ที่น่าสนใจ เช่น ใช้ผลิตไฟฟ้าให้เครื่องกระตุ้นหัวใจ และผลิตไฟฟ้าให้กับยานอวกาศ Galileo และ Cassini
รู้กันไหมว่าในงานสืบสวนก็สามารถ ‘สืบจากศพ’ ด้วยการคำนวนจากธาตุกัมมันตรังสีในร่างกาย ได้ด้วย นักวิทยาศาสตร์รังสี นำเทคนิคนี้มาใช้คำนวณหาเวลาเสียชีวิตของศพได้อย่างแม่นยำ